กฎหมายแพ่ง

กฎหมายแพ่ง





1. กฎหมายแพ่ง     คือกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองและครอบครัว ดังนี้
1.1 การหมั้น  เป็นการที่หญิงชายตกลงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกัน  การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบทรัพย์อันเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง  แต่ในการสมรสนั้นไม่ได้บังคับว่าจะมีการหมั้นก่อน แต่ถ้าหมั้นก็จะมีผลผูกพันกัน   ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น  เช่น  ของหมั้นจะตกเป้นสิทธิแก่หญิงทันที เมื่อมีการหมั้นแล้ว  ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย  ฝ่ายหญิงก็ไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายเป็นต้น 
เกณฑ์การหมั้นตามกฎหมายนั้น  คือ  ชาย หญิงจะหมั้นต้องมีอายุครบ  20  ปีบริบูรณ์จึงจะมีอำนาจที่จะทำการหมั้นได้โดยลำพังตนเอง แต่ถ้ามีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์จะทำการหมั้นได้ต้องมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองยินยอมก่อน  เป็นต้น
       การหมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นถือเป็นโมฆะ  เหตุที่กฎหมายกำหนดอายุของหญิงและชายไว้  ก็เพราะการหมั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายและหญิง  เมื่อจะทำสัญญาหมั้นกันจึงควรให้ชายและหญิงที่จะหมั้นอยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้นได้ตามสมควร  กฎหมายถือว่าชายหญิงที่มีอายุต่ำกว่า  17  ปีบริบูรณ์  ไม่อยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้น  การสมรส แม้บิดามารดาจะยินยอมก็ตามเ
1.2  การรับรองบุตร  เป็นการให้การยอมรับบุตรซึ่งเกิดจากหญิงที่เป็นภรรยาโดยมได้จดทะเบียนสมรส  ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิง  แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของชาย  กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้ชายจดทะเบียนรับรองบุตร  ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ชายจดทะเบียน  แต่ถ้าเป็นบุตรนอกสมรสแต่ต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันก็ไม่ต้องจดทะเบียบรับรองบุตรอีก   การจดทะเบียนบุตรมี 2 วิธี คือการรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา และการรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของศาลให้เด็กผู้นั้นเป็นบุตรของชายผู้เป็นบิดา
1.3 กฎหมายแพ่งเกียวกับมรดก
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับมรดกกำหนดว่าเมื่อบุคคลใดตาย   และทำพินัยกรรมไว้  มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่ผู้ตายระบุไว้ในพินัยกรรม  หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่เป็นทายาทและคู่สมรส
    กองมรดก  ได้แก่  ทรัพย์ทุกชนิดของผู้ตาย  รใมทั้งสิทธิและหน้าที่   ตลอดทั้งความรับผิดชอบต่างๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน  เป็นต้นว่าหนี้สิน  เว้นแต่กฎหมาย หรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เช่นสิทธิในการเข้าสอบ  หรือสิทธิในการมีอาวุธปืน  การตายของเจ้าของมรดกมีความยหมาย สองกรณี  คือตายหรือสิ้นชีวิตไปตามจริงตามใบมรณบัตร หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ บุคคลที่จะได้รับมรดกของผู้ตายได้แก่  ทายาท  วัด  แผ่นดิน  บุคคลภายนอกนี้ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลย
ทายาทแบ่งออกเป็นสองประเภท 
1. ทายาทโดยธรรม  เป็นทายาทตามสิทธิกฎหมาย  ได้แก่  ญาติ  และคู่สมรส  และทายาทที่แบ่งออกเป็นหกชั้นคือ
1.1 ผู้สืบสันดาน
1.2 บิดามารดา
1.3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
1.4 พี่น้องที่ร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
1.5 ปู่ย่า  ตายาย
1.6 ลุง  ป้า  น้า อา
2.ผู้รับพินัยกรรม  พินัยกรรม ได้แก่  คำสั่งยกทรัพย์สินหรือแบ่งทรัพย์สิน หรือวางข้อกำหนดใดๆอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเมื่อตายไปแล้ว หรือกรณีอื่นๆที่กฎหมายรับรองมีผลเมื่อตายไปแล้ว  เช่น การตั้งเป็นผู้ปกครองเด็ก  เป็นต้นและต้องทำให้ถูกกฎหมายกำหนดไว้ด้วย  จึงจะมีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย  ผู้รับพินัยกรรม ได้แก่  ผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในพีนัยกรรม